วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559

อุปกรณ์ตกปลาเบื้องต้น (สำหรับนักตกปลามือใหม่)


อุปกรณ์ตกปลาที่ใช้ในการตกปลา โดยอุปกรณ์หลัก ก็จะประกอบไปด้วยดังนี้

1. รอกตกปลานับเป็น อุปกรณ์ตกปลาที่มีความสำคัญในการตกปลาเนื่องจากการตกปลาแต่ละประเภทแต่ละชนิดจะ ใช้รอกที่มีความแตกต่างกันออกไปครับ โดยรอกตกปลาที่ใช้กันโดยทั่วไปในปัจจุบันนั้นแบ่งออกได้ดังนี้
ประเภทของรอกตกปลา
1.1 รอกตกปลาแบบสปินนิ่ง (Spinning Reel)
เป็นรอกตกปลาพื้นฐาน ที่ใช้งานง่ายแนะนำสำหรับมือใหม่ที่ต้องการรอกตัวแรกในชีวิตครับ เพราะอย่างที่ว่าใช้งานง่ายไม่ซับซ้อนครับ
        -   ข้อดีของรอกสปินนิ่ง  ใช้งานง่ายเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น มือหมุนสามารถปรับได้ทั้งซ้ายและขวา
        -   ข้อเสียของรอกสปินนิ่ง  สายตีเกลียวง่ายเนื่องจากขณะตีสาย สายจะคลายตัวออกจากสปูนในขณะที่สปูนไม่หมุนตาม

1.2 รอกตกปลาแบบเบทคาสติ้ง (Bait casting Reel)

เป็นรอกตกปลาที่มีความสวยงาม มีทั้งแบบหยดน้ำและธรรมดา มีความคงทน และใช้งานได้อยากกว่าแบบสปินนิ่ง เหมาะสำหรับนักตกปลาที่มีความชำนาญในการใช้งานสูงครับ รอกตกปลาประเภทนี้นิยมใช้ในการตกปลาล่าเหยื่อ เช่น ช่อน ชะโด เพราะสามารถตีเหยื่อปลอมเข้าหมายได้รวดเร็วกว่าไม่ต้องเสียเวลาเปิดหน้ารอก เหมือนแบบสปินนิ่ง
       -   ข้อดีของรอกเบทคาสติ้ง  สามารถเหวี่ยงเหยื่อได้ไกล มีระบบตั้งเบรคล่วงหน้าทำให้ไม่พะวงเรื่องการตั้งเบรค เมื่อปลาฉวยเหยื่อ
      -   ข้อเสียของรอกเบทคาสติ้ง  ใช้งานค่อนข้างยากต้องอาศัยการฝึกฝน สายฟู่ และมือหมุนไม่สามารถเปลี่ยนสลับข้างได้

1.3 รอกแบบทรอลลิ่ง (Trolling Reel)

เป็นรอกตกปลาที่ลักษณะเดียวกันกับรอกเบทแต่มีขนาดใหญ่กว่า ทนทานกว่า เหมาะสำหรับตกปลาทะเลที่มีขนาดและน้ำหนักมาก โดยใช้การลากเหยื่อด้วยเรือ หรือการทรอลลิ่งนั่นเอง

1.4 รอกตกปลาแบบฟราย (Fly casting Reel)

ใช้สำหรับตกปลาโดยการใช้เหยื่อเฉพาะของรอกฟรายซึ่งจะเลียนแบบลักษณะของแมลง โดยการเหวี่ยงสายออกไปแล้วทำการสบัดสายให้เหยื่อเคลื่อนไหวเลียนแบบแมลงที่ ตกลงไปบนผิวน้ำอย่างไรก็ตามรอกชนิดนี้ไม่นิยมในบ้านเรา นอกจากรอกตกปลาดังที่กล่าว มาข้างต้นแล้วยังมีรอกชนิดพิเศษที่ทำขึ้นสำหรับงานพิเศษ เช่นรอกขนาดใหญ่ที่ ใช้ตกปลา ในทะเล หรือรอกกระปุก
       -   ข้อดีของรอกฟราย  สามารถเลียนแบบลักษณะของแมลงที่ตกลงบนผิวน้ำได้
       -   ข้อเสียของรอกฟราย  ใช้งานค่อนข้างยากต้อง อาศัยการฝึกฝน เนื่องจากรอกฟรายต้องใช้กับคันฟรายให้เข้าชุดเท่านั้นและรอกฟรายไม่สามารตี เหยื่อแล้วให้สายไหลออกไปได้เอง

2. อุปกรณ์ตกปลา (คัน)

 สำหรับคันเบ็ดก็จะเป็นคันที่เข้ากับชุดของรอกในแต่ละประเภทครับ ส่วนการเลือกใช้งานนั้นก็แล้วแต่ความเหมาะสม คันเบ็ดจะมีลักษณะของความแข็งของคันแตกต่างกันออกไป เริ่มตั้งแต่ แข็ง ปานกลาง และอ่อน ซึ่งการเลือกใช้คันในการตกปลาแต่ละประเภทนั้นก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม เช่นตกปลาใหญ่อย่าง ยี่สก หรือปลาจีน อาจต้องใช้คันที่มีความแข็งแรง อีกเรื่องหนึ่งก็คือ ความยาวคันเบ็ดส่วนใหญ่ที่เคยใช้โดยทั่วไปน่ะครับจะมีความยาวตั้งแต่ 4 ฟุต จนถึง 12 ฟุต ประมาณนี้ครับซึ่งคันเบ็ดนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น
ประเภทของคันเบ็ดตกปลา
2.1 คันสปินนิ่ง(Spinning Rod) เป็นคันเบ็ดที่ใช้สำหรับคู่กับรอกสปินนิ่ง
2.2 คันเบทคาสติ่ง(Baitcasting Rod)เป็นคันเบ็ดที่ใช้สำหรับคู่กับรอกเบท
2.3 คันทรอลิ่ง(Trolling Rod)เป็นคันเบ็ดที่ใช้สำหรับคู่กับรอกทรอลิ่ง หรือการทรอลิ่งนั่นเอง
2.4 คันฟลาย(Fly Rod)เป็นคันเบ็ดที่ใช้สำหรับคู่กับรอกทรอลิ่ง

3. อุปกรณ์ตกปลา (สายหรือเอ็น)

คราวนี้ก็ต้องมากล่าวถึงชุดสายหรือเอ็นที่ใช้ประกอบกับชุดของคันและรอกตกปลาที่เราจะใช้ตกปลาซึ่งการเลือกใช้ชุดสายก็มีความสำคัญต่อการตกปลาเพราะถ้าหากเราไปตกปลาที่มีขนาดใหญ่หากใช้สายที่ทนต่อแรงดึงหรือแรงกระชากของปลาน้อยก็อาจทำให้สายของเราขาดได้ครับ โดยทั่วไปแล้วสายหรือเอ็นที่ใช้กันสำหรับตกปลาทั่วไปจะมีขนาดตั้งแต่ 12 15 20 25 30 40 50 ปอนด์ครับ แล้วแต่จะเลือกใช้ให้เหมาะสม โดยชุดสายหรือเอ็นตกปลานั้นในที่นี้ขอแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ ชุดสายธรรมดา ชุดสายเชือกถัก ชุดสายหน้าหรือสายลีด
ประเภทของสายหรือเอ็นปลา
3.1 ชุดสายธรรมดา เป็นชุดของสายเอ็นปกติ
3.2 ชุดสายเชือกถัก เป็นลักษณะของสายเชือกถักมีความคงทนแข็งแรงกว่าสายปกติมาก
3.3 ชุดสายหน้าหรือสายลีด เป็นชุดสายที่มีความแข็งแรงทนทานที่สุดใช้สำหรับประกอบเป็นสายหน้าป้องกันการกัดของปลาที่ฟันมีความแหลมคม ชุดสายหน้านี้จะสายที่ทำจากลวดหรือวัสดุที่มีความคงทนสูง
3.4 สายอีกประเภทหนึ่งคือสายที่ใช้กับการตกปลาประเภท ฟลายฟิชชิ่ง สายประเภทนี้จะมีความเหนียวและคงทนเป็นพิเศษและมีราคาที่สูงตามไปด้วย

4. อุปกรณ์ตกปลา (เหยื่อปลอม)

 เหยื่อตกปลาดังที่กล่าวไว้แล้วตั้งแต่ต้นว่ามีทั้งเหยื่อจริงและเหยื่อปลอมโดยเหยื่อที่เราเลือกใช้สำหรับตกปลานั้นก็มีความสำคัญ
4.1 เหยื่อปลอมนั้นใช้สำหรับหลอกล่อปลาล่าเหยื่อให้เข้ามากินโดยใช้การสร้างเลียนแบบธรรมชาติของเหยื่อปลาที่มีอยู่แล้วด้วยการประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ให้มีความคล้ายคลึงมากที่สุดครับ
ประเภทของเหยื่อปลอม
4.2 เหยื่อปลอมโดยทั่วไปมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้ คือ
4.3 เหยื่อผิวน้ำ เหยื่อชนิดนี้เป็นเหยื่อประเภทที่ใช้วิ่งบนผิวน้ำด้วยการตีเหยื่อเข้าไปยังจุดที่คิดว่ามีตัวปลาอยู่แล้วลากเหยื่อมาตามผิวน้ำ เหยื่อประเภทนี้ใช้ได้ดีกับประช่อน ชะโด และกระสูบ โดยเหยื่อประเภทนี้จะมีขนาดเล็กใหญ่แตกต่างกันไปตามลักษณะของปลาที่เราตก
      ตัวอย่างเหยื่อปลอมประเภทผิวน้ำได้แก่
    - กบผิวน้ำ อาจจะมีหรือไม่มีใบพัดด้วยก็ได้แล้วแต่ลักษณะของหมาย
    - ปอบเปอร์ เหยื่อประเภทที่ใช้การกระตุกเพื่อเรียกความสนใจของปลา
4.4 เหยื่อดำตื้น เหยื่อชนิดนี้จะเป็นการเลียนแบบปลาขนาดเล็กซึ่งใช้การสร้างแอคชั่นให้มีความคลายคลึงกับการว่ายของปลาที่บาดเจ็บหรือใกล้ตาย
ตัวอย่างของเหยื่อประเภทดำตื้นได้แก่
   -ปลั๊กดำตื้น
   -สปูน 
   -สปินเนอร์
4.5 เหยื่อดำลึก เป็นเหยื่อประเภทเดียวกันกับเหยื่อประเภทดำตื้นแต่มีความสามารถในการดำได้ลึกกว่า
4.6 เหยื่อจริง
 เหยื่อจริงที่ใช้ตกปลานั้นสามารถแบ่งออกได้เป็นเหยื่อจากธรรมชาติ และเหยื่อที่ผลิตขึ้นโดยนักตกปลา
4.7 เหยื่อจากธรรมชาติ ได้แก่ กบ เขียด ไส้เดือนต่าง ๆ ที่หาได้จากธรรมชาติ
4.8 เหยื่อที่นักตกปลาผสมขึ้น อันนี้เป็นเหยื่อที่ไม่มีความตายตัวครับต้องทดลองและค้นหาด้วยตัวเอง แต่ส่วนผสมหลัก ๆ แล้วก็มีรำข้าว เป็นหลัก อาจใส่หัวเชื้อบ้างเป็นต้น
เหยื่ออีกประเภทที่ใช้กันทั่วไป ส่วนใหญ่ใช้กับปลาหนัง ได้แก่ เหยื่อหมัก เช่น ไส้ไก่หมัก ม้ามหมูหมักเป็นต้นครับ

Pink Salmon Fly Fishing